จับ “แพ็คเกจคู่ สองผัวเมีย” หลอกสร้างบ้าน ปรับปรุงบ้าน ประมูลรถหรู ใช้สารพัดกลโกงหลอกเหยื่อเสียหายกว่า 30 ล้าน
กองบังการปราบปราม (บก.ป) ร่วมกันจับกุม
1. นายอาภากรฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 36 ปี
ซึ่งเป็นจำเลยตามหมายจับของศาลแขวงธนบุรีจำนวน 4 หมายจับ โดยกล่าวหาว่า
1.1 หมายจับของศาลแขวงธนบุรี ที่ 37/2566 ลงวันที่ 26 ม.ค.2566 คดีหมายเลขดำที่ อ2040/2564
คดีหมายเลขแดงที่ อ1108/2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกง”
1.2 หมายจับของศาลแขวงธนบุรี ที่ 281/2566 ลงวันที่ 11 พ.ค.2566 คดีหมายเลขดำที่
อ2045/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ1664/2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกง”
1.3 หมายจับศาลแขวงธนบุรี ที่ 312/2566 ลงวันที่ 23 พ.ค.2566 คดีหมายเลขดำที่ อ2012/2564
คดีหมายเลขแดงที่ อ1663/2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกง”
1.4 หมายจับศาลแขวงธนบุรี ที่ 367/2566 ลงวันที่ 15 มิ.ย.2566 คดีหมายเลขดำที่ อ2073/2564
คดีหมายเลขแดงที่ อ1665/2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกง”
2. น.ส.นิตยา (สงวนนามสกุล) อายุ 40 ปี
ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหายจับของ สน.ราษฎร์บูรณะ จำนวน 1 หมายจับ โดยกล่าวหาว่า “ร่วมกันฉ้อโกง”ตามหมายจับศาลแขวงธนบุรี ที่ 227/2566 ลงวันที่ 6 ก.ย.2566 เลขคดีอาญา 936/2566
สถานที่จับกุม บริเวณหน้าร้านอาหาร ถ.ท้ายบ้าน ต.ปากน้ำ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ
พฤติการณ์ เมื่อประมาณ พ.ศ.2553 ผู้ต้องหาและครอบครัวได้ไปเช่าอพาร์ทเม้นท์ย่านราษฎร์บูรณะ ของผู้เสียหายอยู่แล้วก็ได้ตีสนิทกับผู้เสียหายโดยการช่วยเหลือดูแลอพาร์ทเม้นท์โดยที่ผู้เสียหายไม่ได้ร้องขอ ช่วยซ่อมแซมระบบไฟฟ้าของอพาร์ทเม้นท์ ซึ่งผู้ต้องหาเองเป็นคนที่มีความรู้เรื่องระบบไฟฟ้าจนทำให้ผู้เสียหายเกิดความไว้วางใจ จนมาเมื่อ พ.ศ.2555 ผู้เสียหายต้องการที่จะปลูกบ้าน ผู้ต้องหาเลยเสนอตัวว่าตัวเองมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกสร้างบ้าน โดยได้ให้ผู้เสียหายโอนเงินค่าก่อสร้าง และค่าซื้อไม้สักเป็นต้น โดยมียอดการโอนเงินเป็นจำนวนหลายครั้ง ต่ำสุดมีตั้งแต่หลักพันถึง 6-7 แสนต่อครั้ง และผู้ต้องหายังมีการอ้างว่าสามารถประมูลอุปกรณ์ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าได้โดยจะได้ราคาถูกกว่าท้องตลาดผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้โอนเงินให้กับผู้ต้องหาไป ได้มีการโอนเงินจนมาถึงปี 2562 รวมการโอนทั้งสิ้นหลายร้อยครั้ง มูลค่าความเสียหายประมาณ 22 ล้านบาท แต่ภายหลังจากที่ผู้เสียหายโอนเงินไปก็ไม่เคยได้สิ่งของหรือการสร้างบ้านตามที่ตกลงกันไว้ เมื่อทวงถามกับผู้ต้องหาไปก็บ่ายเบี่ยง จึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ราชบูรณะ จนนำมาสู่การออกหมายจับ และในรายอื่นๆ ก็จะใช้กลในการหลอกคล้ายๆกัน คือหลอกว่าจะทำธุรกรรมต่างๆ ให้ แต่จะเรียกเก็บเงินค่ามัดจำ ค่าดำเนินการต่างๆก่อน เมื่อได้เงินแล้วก็จะเชิดเงินหนีไป ติดต่อไม่ได้ และเหตุการณ์ล่าสุดเกิดเมื่อประมาณต้นเดือนมกราคม ผู้เสียหายที่ 2 ต้องการที่จะปรับปรุงบ้าน ย่านท่าข้าม เลยได้ไปถามญาติซึ่งเปิดร้านขายวัสดุก่อสร้าง ให้ช่วยแนะนำช่าง ทางด้านญาติของผู้เสียหาย จึงได้แนะนำตัวผู้ต้องหาเพราะเห็นว่าเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและเป็นลูกค้าของทางร้าน หลังจากที่ผู้เสียหายที่ 2 ได้รู้จักกับผู้ต้องหา ผู้ต้องหาก็แสดงท่าทีเป็นบุคคลมีน้ำใจ คอยช่วยเหลือ และมักซื้อของมาฝากบ่อยครั้ง ผู้เสียหายที่2จึงเกิดความไว้วางใจ จนเมื่อประมาณเดือนเมษายนทางผู้ต้องหาเริ่มมีการให้ผู้เสียหายที่2 โอนเงินมัดจำค่าก่อสร้างและอ้างว่าจะนำไปซื้ออุปกรณ์ที่จะปรับปรุงบ้าน โอนจำนวนหลายครั้ง เเต่ละครั้งยอดหลักแสน รวมแล้วประมาณ 1 ล้าน 5 แสนบาทและผู้ต้องหาก็ยังได้ชักชวนญาติของผู้เสียหายที่ 2 อีก 3 คน ในเรื่องการประมูลรถหรูและของแบรนด์เนม จากหน่วยงาน ป.ป.ง. โดยผู้ต้องหาอ้างว่ารู้จักเจ้าหน้าที่ภายในสามารถช่วยให้ได้ของราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด แต่ขอให้โอนเงินมัดจำเป็นค่าเจ้าหน้าที่ดำเนินการก่อน ทั้ง 3 คน โอนเงินจำนวนหลายครั้งตั้งแต่หลักแสนถึงหลักล้านเพื่อเป็นค่าดำเนินการดังกล่าว รวมแล้วประมาณ 5 ล้านกว่าบาท
แล้วสุดท้ายก็โดนเชิ่ดเงินหนีหาย ซึ่งการโอนเงินของผู้เสียหายแต่ละราย ทางนายอาภากรฯ ผู้ต้องหาที่ 1 ได้ให้ผู้เสียหายโอนมายังบัญชีธนาคารของภรรยา นางการเกดฯ ผู้ต้องหาที่ 2 (เสียชีวิต ก.ค.66), และบัญชี ของภรรยาอีกคน น.ส.นิตยาฯ ผู้ต้องหาที่ 3 (ถูกจับกุมในคราวเดียวกัน) จนตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดยกองบังคับการปราบปราม สืบสวนติดตามจับกุมตัวผู้ต้องหาทั้งสองรายได้พร้อมกัน และได้นำตัวนายอาภากรฯ ส่งศาลแขวงธนบุรี นำตัว น.ส.นิตยาฯ ส่งพงส.สน.ราษฎร์บูรณะ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป