สาวใหญ่ ร้อง สามีภูกหมอปฎิเสธสแกนสมอง หลังปวดหัวขั้นรุนแรง จึงเดินทางไปรพ.ชื่อดังย่านปากเกร็ด ขอหมอสแกนสมอง แต่ถูกปฎิเสธและให้ยากลับบ้าน สุดท้ายดับ
เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 6 เม.ย.67 นางชาดา วาทนเสรี อายุ 48 ปี เดินทางนำเอกสารเข้าขอความช่วยเหลือกับนางสาวธนิดา ชแจ้งจำรัส หรือทนายนินู หลังจากสามีชื่อนายปรีชา วาทนเสรี อายุ 46 ปี พนักงานฝ่ายรักษาความสะอาด สำนักงานเขตดุสิต กทม.ได้เสียชีวิต หลังมีอาการปวดหัวขั้นรุนแรง จนเดินไม่ได้เวียนหัวบ้านหมุน และอาเจียน เดินทางไปโรงพยาบาลชื่อดังย่านปากเกร็ด ขอแพทย์สแกนสอมองปต่ถูก ปฏิเสธและให้ยากลับบ้าน ผ่านไป 1 วัน สามีเกิดอาการชักเกรง หมดสติ ปัสสาวะราด ปลุกไม่ตื่น เจ้าหน้าที่กู้ภัยนำตัวส่งโรงพยาบาลดังกล่าวเข้ารักษาตัว แพทย์จึงยอมแสกนสมอง พบว่าเลือดออกในชั้นเยื้อหุ้มสอง ก่อนจะเสียชีวิตในวันที่ 10 ม.ค.66 ที่โรงพยาบาล
นางชาดา กล่าวทั้งน้ำตาว่า เมื่อวันที่ 6 ม.ค.67 เวลาประมาณ 05.15 น. ตนได้พาสามี หลังมีอาการปวดศรีษะรุนแรงคล้ายหัวจะระเบิด และมีอาการไอ เดินทางเข้ารักษาตามสิทธิของสามีที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชื่อดังย่านปากเกร็ด พอไปถึงโรงพยาบาล ทางแพทย์ได้ฉีดยา พร้อมให้ยาแล้วให้สามีกลับบ้านตามปกติ วันต่อมา 7 ม.ค.66 เวลา ประมาณ 10.00 น. อาการสามีไม่ดีขึ้นมีอาการปวด ศรีษะรุนแรงหนักกว่าเดิม เดินไม่ได้เวียนหัวบ้านหมุน และอาเจียน จึงเดินทาง กลับไปที่โรงพยาบาลที่ห้องฉุกเฉินเหมือนเดิม รอบนี้ทางสามีตนขอแพทย์ให้แอดมิดสแกนสมอง เนื่องจากมีสวัสดิการสามารถเบิกได้ตามสิทธิ์ แต่กลับถูกแพทย์ปฏิเสธการร้องขอ ก่อนจะจ่ายยาให้กลับบ้าน ทางแฟนตนจึงให้ตนที่รออยู่ด้านนอกให้ไปคุยกับหมอซึ่งเป็นแพทย์หญิงที่ปฎิเสธให้สแกนสมอง ตนจึงเดินเข้าไปถามว่า “สามีตนเป็นอะไร” ทางแพทย์หญิงก็ชักสีหน้า แล้วไม่ตอบตนว่าสามีตนเป็นอะไร ตนจึงพาสามีกลับบ้าน ซึ่งระหว่างที่ตนพาสามีกลับบ้านคืออาการแย่แล้วเดินไม่ไหวตนจึงเรียกรถแท็กซี่ให้มารับหน้าห้องฉุกเฉินแล้วกลับบ้าน ระหว่างทางตนก็ได้ถามสามีว่าหมอบอกว่าอะไร สาเหตุที่ไม่ให้สแกนสมอง สามีตนบอกว่า หมอบอกมาว่าไม่มีอะไรบ่งชี้ให้สแกนสมอง หลังจากกลับบ้านมาตนก็ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดให้กินยาแล้วก็นอนพัก หลังจากนั้นเวลาประมาณ 22.00 น. สามีตนมีอาการชักเกร็ง น้ำลายฟูมปาก ปัสสาวะราด ปลุกไม่ตื่น จึงโทรหารถกู้ภัยมารับสามีตนส่งโรงพยาบาล แอดมิทอยู่โรงพยาบาลประมาณ 3 วัน ก่อนจะเสียชีวิตในวันที่ 10 ม.ค.66
นางชาดา กล่าวต่ออีกว่า ตนข้องใจว่าก่อนหน้านี้ทางสามี เคยขอสแกนสมองกับแพทย์แล้วแต่แพทย์ไม่ยอมสแกนสมองให้ จนกระทั่งสามีตนอาการหนัก ในวันที่ 7 ม.ค.66 ถึงขั้นไม่รู้สึกตัว หมอจึงยอมสแกนสมองให้ และวินิจฉัยว่า ทางสามีตนมีเลือดออกในสมอง สมองบวม หากหมอแสกนสมอง และให้รักษาก่อนหน้านี้ สามีตนก็คงไม่เสียชีวิต หลังจากสามีตนเสียชีวิตตนมีความคาใจได้เดินเข้าไปสอบถามทางคุณหมอว่าทำไมไม่ยอมให้สามีตอนสแกนสมองตั้งแต่แรก แต่กลับไม่ได้คำตอบอะไรจากโรงพยาบาลหรือคุณหมอเลย ซึ่งย้อนกลับไประหว่างที่สามีตนแอดมิทอยู่โรงพยาบาล ทางตนไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับสามีตนเลยไม่มีโอกาสได้บอกลากันเพราะสามีตนไม่รู้สึกตัวอะไรแล้ว ตอนนั้นต้องรู้สึกเสียใจมากเพราะสามีตนเป็นเสาหลักของครอบครัวเลี้ยงดูแลครอบครัวมาโดยตลอด ไม่น่ามาเกิดเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับครอบครัวตน หลังจากสามีตนจากไปทุกวันนี้ตนก็ลำบาก ตัวเองก็ถูกทำงานจ้างออกในช่วงยุคโควิดระบาด วันนี้ตนจึงเดินทางนำเรื่องมาร้องเรียน
กับทางทนายนู เพื่อขอความเป็นธรรมให้กับสามีตน ซึ่งหลังจากเกิดเหตุตนไม่รู้ว่าจะดำเนินการยังไง ไม่รู้เรื่องกฎหมาย เคยโพสต์เรื่องราวบนเฟซบุ๊กมาแล้วหลายครั้งแต่ก็ไม่มีอะไรคืบหน้า จนกระทั่งส่งข้อมูลเอกสารขอความช่วยเหลือกับทนายนินูให้คำปรึกษาและเข้าช่วยเหลือ ตอนนี้รู้สึกมีกำลังใจสู้ต่อทวงความยุติธรรมให้กับสามีตน และจะนำเรื่องราวเหตุการณ์ครั้งนี้มาเป็นอุทาหรณ์ให้กับประชาชน หรือทางโรงพยาบาลได้รับรู้ควรจะปรับปรุงแก้ไข และช่วยเหลือเยียวยาทางครอบครัวผู้เสียชีวิตอย่างไร หากย้อนเวลากลับไปได้ตนจะไม่พาสามีมารักษาที่โรงพยาบาลนี้เด็ดขาด ส่วนหลังจากนี้จะให้ทางทนายนูดำเนินการตามขั้นตอนกฏหมายให้ถึงที่สุด เพื่อที่จะไม่ให้ เกิดเหตุการณ์แบบนี้กับครอบครัวไหนอีก
ด้านทนายนินู กล่าวว่า เรื่องนี้ตนได้รับการร้องเรียนมาซักระยะหนึ่งแล้ว ในระหว่างระยะเวลาที่ตนได้รับการร้องเรียนตนก็ได้รวบรวมเอกสารหลักฐานทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ ตนเข้าใจว่าหมอทุกคนอยากจะรักษาคนไข้ทุกคนอยู่แล้ว แต่ก็จะมีบางครั้งที่อาจประมาทเลินเล่อไปทำให้ผู้เสียหายต้องเกิดความสูญเกิดขึ้น ซึ่งที่ดูจากเอกสารก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าผู้ป่วยมีอาการปวดหัวขั้นรุนแรง วันแรกไม่หายวันที่สองก็ยังไม่หายหมอควรจะเอะใจได้แล้ว ว่าอาการของคนไข้นั้นหนักขึ้นควรจะมีการรักษาที่ถี่ถ้วนและละเอียดรอบคอบ ในจรรยาบรรณของคนเป็นแพทย์บุคคลที่ป่วยไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าตัวเองนั้นเป็นโรคอะไร ก็ต้องควรจะอธิบายให้ญาติผู้ป่วยหรือผู้ป่วยนั้นรับทราบว่าเค้ากำลังป่วยเป็นโรคอะไรและจะมีแนวทางการรักษาอย่างไรต่อ คนเป็นหมอควรจะอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจไม่ใช่ชักสีหน้าเพื่อให้จบไปที แล้วเคสนี้เป็นเคสที่เกิดการสูญเสีย เบื้องต้นตนได้ทำเอกสารเพื่อร้องเรียน ให้ทางแพทย์สภาได้ตรวจสอบจรรยาบรรณ ของแพทย์ผู้ให้การรักษาในครั้งนี้
หลังจากได้ทำการร้องเรียนและตรวจสอบจรรยาบรรณของแพทย์แล้ว จรรยาบรรณของแพทย์ควรที่จะคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยเฉพาะในเรื่องของให้การสื่อสารกับญาติเพื่อให้ญาติได้รับรู้รับทราบว่าผู้ป่วยนั้นกำลังป่วยเป็นอะไรอยู่ ต่อมาในเคสนี้เป็นเคสที่เรียกว่าประมาทได้เลยเพราะว่าแพทย์ได้ทำการปล่อยผู้ป่วยกลับบ้านมาถึงสองครั้ง จนผู้ป่วยได้เสียชีวิต อาจจะเข้าข้อกฎหมายประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แล้วทางนี้ทางแพทย์จะสามารถชดเชยค่าเสียหายในทางละเมิดให้กับญาติผู้ตายอย่างไรได้บ้างหลังจากนี้ตนก็จะดำเนินการไปตามลำดับของกฎหมายต่อไป
ตนได้อยากฝากถึงแพทย์ในจรรยาบรรณของความเป็นแพทย์หรือจรรยาบรรณของทุกวิชาชีพต้องให้ข้อมูลและความรู้กับคนที่มารักษากับคุณ ทุกคนไม่ว่าญาติหรือทุกคนมีความกังวลอยู่แล้วว่าเค้าจะเกิดความสูญเสียหรือไม่คุณเป็นแพทย์คุณต้องใจเย็นไม่ใช่การชักสีหน้าใส่ตนได้ยังบอกอีกว่าแพทย์มีทั้งดีและไม่ดีตนจึงขอฝากไปถึงแพทย์ผู้ให้การรักษาในเคสนี้ สุดท้ายตนขอฝากไปถึงประชาชนที่เจอเหตุการณ์เหตุการณ์แบบนี้ว่าเรามีสิทธิ์ในสิทธิมนุษยชนเรามีสิทธิ์ที่จะถามว่าเราป่วยเป็นอะไรหรือว่าญาติของเราเป็นอะไร และคนเป็นหมอคนที่แจ้งให้เขาทราบในสถานพยาบาลถ้าเรามีการสงสัยว่าเขารักษา ในแนวทางที่ถูกต้องไหมหรือเสียชีวิตเพราะการรักษาของแพทย์หรือเปล่าเราสามารถที่จะไปร้องเรียนกับแพทย์สภาเพื่อให้ตรวจสอบจรรยาบรรณแพทย์การกระทำความผิดของแพทย์ได้ รวมถึงถ้าผลของการตรวจสอบออกมาแล้วว่าแพทย์ผิดจริงๆเราสามารถที่จะฟ้องร้องคดีอาญาในกรณีประมาทได้ และฟ้องร้องในทางแพ่งสามารถเรียกค่าชดเชยที่เกิดขึ้นได้