สืบนครบาล ซิว! ‘สันหนองเสือ’อ้างเป็นตำรวจเชียงใหม่ หลอกเหยื่อพบพัสดุผิดกฎหมาย ให้โอนเงินตรวจสอบ
ตามนโยบายของ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์. รรท.ผบ.ตร. ,พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. ,พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. ,พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมทางออนไลน์ ที่กระทำความผิดทุกรูปแบบซึ่่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมากโดยชุดลาดตระเวนออนไลน์ สืบนครบาล ได้รับแจ้งเหตุจากผู้เสียหายในหลายท้องที่ ว่าตกเป็นผู้เสียหายในการถูกแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกลวงออนไลน์ ทำให้ชุดสืบนครบาลเมื่อได้รับทราบ ถึงความทุกข์ใจของผู้เสียหายดังกล่าว จึงทำการตรวจสอบพบบัญชีผู้ต้องหาที่รับโอนเงินรายดังกล่าวมีหมายจับ จำนวน 4 หมาย ในหลายท้องที่ จึงพยายามสืบหาตัวผู้ต้องหาเพื่อนำคืน ความสุขให้แก่กลุ่มผู้เสียหายที่ได้รับความเดือดร้อน สูญเงินกว่า 7 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ต.วสันต์ เตชะอัครเกษม รอง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น.
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.ฯ, พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ, พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฎศรี, พ.ต.ท.นิธิ ปิยะพันธุ์ รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ
สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สส. นำโดย พ.ต.ท.พิทักษ์ ศรีกะแจะ สว.กก.วิเคราะห์ข่าวฯ พร้อม ชุดปฏิบัติการที่ 3 จับกุม
นายรังสรรค์ อายุ 50 ปีภูมิลำเนา ต.คูคต อ.ลำลูกกา จว.ปทุมธานี
ผู้ต้องหา 4 หมายจับ!
(1).ตามหมายจับศาลอาญาธนบุรี ที่ 588/ 2565 ลงวันที่ 21 ก.ย. 65
ข้อหา”ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลคนอื่นและโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น”
(2).ตามหมายจับศาลจังหวัดราชบุรี ที่ จ.113/2566 ลงวันที่ 7 มี.ค. 66
ข้อหา“ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงนเป็นบุคคลอื่นและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน”
(3).ตามหมายจับศาลจังหวัดบึงกาฬ ที่ 56/2566 ลงวันที่ 20 ก.พ. 66
ข้อหา“สนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง”
(4).ตามหมายจับศาลแขวงสระบุรี ที่ จ.55/2566 ลงวันที่ 28 มี.ค. 66
ข้อหา“ร่วมกันฉ้อโกง,โดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง”
พฤติการณ์กล่าวคือ สืบทราบว่าตัวผู้ต้องหาได้เดินทางมาทำธุระในท้องที่เขตราชเทวี ชุดจับกุมจึงได้สืบสวนติดตามจับกุมจนพบนาย รังสรรค์ หรือ ”สันหนองเสือ“ อายุ 50 ปี พร้อมแสดงหน้าหมายจับที่ 588/ 2565ศาลอาญาธนบุรี ลงวันที่ 21 กันยายน 2565
ความผิดฐาน: “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลคนอื่น และโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น“
ความเสียหายในทางคดีและพฤติการทางคดีนี้ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 เวลา 15.00 น. ขณะที่ผู้เสียหายทำงาน มีโทรศัพท์ติดต่อมาหาตนเอง แจ้งว่าเป็น จนท.DHL แจ้งว่ามีพัสดุของผู้เสียหายตีกลับ จากนั้นมิจฉาชีพที่อ้างตนว่าเป็น จนท.DHL ต่อสายสนทนา ให้คุยกับ จนท.ที่อ้างว่าเป็นDHLสาขา จว.เชียงใหม่ อ้างว่าตอนนี้พัสดุที่ตีกลับนี้ ตอนนี้ตกค้างยังกรมศุลกากร รับพัสดุไว้ อ้างว่าในพัสดุที่เป็นชื่อผู้เสียหายชิ้นนี้ ตรวจพบมี สมุดเดินทาง14เล่ม และ บัตรATM18ใบ ซุกซ่อนในกล่องพัสดุ ต้องทำการตรวจสอบและส่งรายงานให้ สภ.เมืองเชียงใหม่ จากนั้นจึงมีการติดต่อจากมิจฉาชีพ อ้างตนว่า เป็น จนท. ตำรวจ ชื้อ ร.ต.ต. ติดต่อมาเพื่อให้ ผู้เสียหายพูดคุยทางแอปพลิเคชั่นไลน์ ในวันเวลาดังกล่าวข้างต้น 15.27 น. ผู้เสียหายได้พูดคุยสนทนากับมิจฉาชีพที่แอบอ้างชื่อ พ.ต.ต.สราวุฒิ คละไฮ แจ้งว่า ผู้เสียหายมีคดีเกี่ยวกับ “การฟอกเงิน“ เนื่องจากตอนนี้ได้จับกุมคนร้าย พบเส้นการเงินสัมพันธ์กับผู้เสียหาย จากนั้นมิจฉาชีพ ที่อ้างตนเป็น พ.ต.ต.สราวุฒิ คละไฮ ได้ส่งบัตร ประจำตัว พร้อมหมายศาล มาทางไลน์ให้ผู้เสียหายดู และแจ้งผู้เสียหายว่าจะตัอง ”อายัดทรัพย์สิน“ ของตนทันที ต้องทำการโอนเงิน ให้ยัง ปปง.ตรวจสอบ มิจฉาชีพยังแจ้งว่า หากโอนมาให้ตรวจสอบเสร็จสิ้นจะโอนกลับยังผู้เสียหาย
ผู้เสียหายจึงหลงเชื่อเนื่องจากวิตกกังวลว่าตนจะถูกดำเนินคดีอาญาฟอกเงิน อีกทั้งเชื่ออย่างสนิทใจเพราะ(มิจฉาชีพ) มีการแสดงบัตรและเอกสารหน้าหมายศาลฯ ผู้เสียหายทำการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารของตน เข้าบัญชี ผู้ต้องหา เป็นจำนวน 20ครั้ง ในวันเวลาดังกล่าว มูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 7,357,000 บาท จากนั้นภายหลังที่ผู้เสียหายโอนเงินครบเสร็จสิ้น มิจฉาชีพมีการ บล๊อคการสนทนาทางแอพพลิเคชั่นไลน์ ทำให้ผู้เสียหายคิดว่าตนถูกมิจฉาชีพหลอกลวง จึงเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สน.ท่าข้าม เพื่อดำเนินการสอบสวน สืบทราบว่า บัญชีปลายทางดังกล่าว จดทะเบียนในชื่อ ของ นายกันตพัฒน์ อายุ29ปี(ควบคุมตัวแล้ว) และนายรังสรรค์ อายุ 50 ปี ผู้ต้องที่ถูกจับนี้
เบื้องต้นในชั้นการจับกุม ผู้ต้องหารับว่าตนเป็นบุคคลตามหน้าหมายจับจริง ปัจจุบัน อายุ50ปี ให้การรับสารภาพว่า เปิดบัญชีให้กลุ่มนายทุนที่รู้จักกัน เล่าว่าช่วงสถานการณ์โควิดในปี2563 ตนตกงานไม่มีงานทำ ทำให้ขัดสนในค่าเช่าบ้านเมื่อมีกลุ่มนายทุนในชุมชนมาเสนอเงื่อนไขว่า “หากตนขายบัญชีธนาคารพร้อมซิมโทรศัพท์มือถือ 5ซิม” นายทุนดังกล่าวจะชำระค่าเช่าบ้านให้ ด้วยเงินเพียง 3,000 บาท (โดยตนไม่ได้เปิดATM) มีเพียงบัญชีธนาคาร พร้อมซิมโทรศัพท์5หมายเลข
ผู้ต้องหายังให้การว่า ผู้ชักชวนดังกล่าวพาตนไปที่ ร้านสะดวกซื้อ ใกล้ๆบ้าน จากนั้นใช้บัตรประชาชนของตน จดทะเบียนซิมพร้อมตนยอมรับว่า ตนเป็นผู้สแกนใบหน้าด้วยการยืนยันบัตรประชาชน ด้วยตนเองจริง
จากนั้นตนก็ไม่ได้ติดต่อกับทางผู้ชักชวนอีกเลย จนช่วงปลายปี2566 ตนได้ทราบข่าวว่านายทุนดังกล่าวที่ตระเวนหาคนเปิดบัญชี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมแล้ว ปัจจุบันลูกชายอายุ 30 ปี ก็ตกเป็นผู้ต้องขัง ในเรือนจำ ด้วยความผิดฐานเดียวกัน เนื่องจากขายบัญชีพร้อมๆกัน ให้กลุ่มนายทุนที่นำไปกระทำความผิดเดียวกัน ผู้ต้องหายังบอกอีกว่า ตนทราบว่ามีหมายเรียกมายังบ้านที่ตนพักอาศัยตามที่อยู่ทะเบียนบ้านแต่ตนก็ไม่คิดว่ามันจะเป็นคดีความที่นำมาสู่ความผิดได้จริง จึงไม่ได้ไปตามหมายเรียก พอตนว่างงานก็ตระเวนหาสมัครงาน จนในวันนี้เดินทางจากหนองเสือ จว.ปทุมธานี เข้ามาสุขุมวิทเพื่อหางานทำ
พล.ต.ต.ธีรเดช ฝากเตือนประชาชน ปัจจุบันกลุ่มมิจฉาชีพอ้างเป็นไปรษณีย์โทรศัพท์หลอกลวง ว่า มีพัสดุตกค้าง และเกี่ยวข้องกับคดีฟอกเงิน หลอกขอข้อมูลส่วนตัว และให้เหยื่อโอนเงินไปให้ตรวจสอบ มีประชาชนยังหลงเชื่ออยู่เป็นจำนวนมาก แนะนำว่า ควรติดต่อหน่วยงานราชการด้วยตนเองอีกครั้งหรือปรึกษากับคนในครอบครัว ไม่ควรเชื่อข้อมูลจากบุคคลในโทรศัพท์ เพื่อไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพ จึงขอฝากเตือนภัยประชาชนให้ทราบโดยมีวิธีการรับมือเบื้องต้นดังนี้
1. ไม่หลงเชื่อข้อมูลทางโทรศัพท์ทางเดียว ให้ติดต่อกลับ หน่วยงานราชการที่ได้รับอ้างถึงเพื่อตรวจสอบ
2. ข้อมูลทางการเงินเป็นความลับ ต้องไม่ให้ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลการทำธุรกรรม Online, รหัส OTP ที่ได้รับผ่าน SMS เด็ดขาด
3. ห้ามโอนเงินตามคำบอกเด็ดขาด